วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554




หน่วยที่ 2
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร





เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 
1.  ระบบ หมายถึง การทำงานขององค์ประกอบย่อยๆอย่างอิสระแต่มีปฏิสัมพันธืซึ่งกันและกันจนกลายเป็นโครงสร้าง ส่วน วิธีการเชิงระบบ หมายถึง กระบวนการคิดหรือการทำงานอย่างมีแบบแผนชัดเจนในการนำำเนื้อหาความรู้ต่างๆมาประยุกต์ใช้อย่างเป็นขั้นตอน

2.  องค์ประกอบของระบบที่สำคัญมีดังนี้
 คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยทำให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ตามที่ต้องการได้ ประการสุดท้ายคือ ตัวข้อมูลที่เป็นเสมือนวัตถุดิบที่จะได้รับการเปลี่ยนแปลงให้เป็นสารสนเทศตามที่ต้องการ
  • ปัจจัยนำเข้า
  • กระบวนการ
  • ผลลัพธ์
ส่วนประกอบทั้งห้าส่วนนี้ทำให้เกิดสารสนเทศได้ หากขาดส่วนประกอบใด หรือส่วนประกอบใดไม่สมบูรณ์ ก็อาจทำให้ระบบสารสนเทศ ไม่สมบูรณ์ เช่น ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เหมาะสมกับงาน ก็จะทำให้งานล่าช้า ไม่ทันต่อการใช้งาน การดำเนินการระบบสารสนเทศจึงต้องให้ความสำคัญ กับส่วนประกอบทั้งห้านี้ 
บุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ เพราะบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และเข้าใจวิธีการให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ จะเป็นผู้ดำเนินการ ในการทำงานทั้งหมด บุคลากรจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ บุคลากรภายในองค์กรเป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิด ระบบสารสนเทศด้วยกันทุกคน เช่น ร้านขายสินค้าแห่งหนึ่ง บุคลากรที่ดำเนินการในร้านค้าทุกคน ตั้งแต่ผู้จัดการถึงพนักงานขาย เป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิดสารสนเทศได้ 
ขั้นตอนการปฏิบัติ เป็นระเบียบวิธีการปฏิบัติงานในการจัดเก็บรักษาข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่จะทำให้เป็นสารสนเทศได้ เช่น กำหนดให้ มีการป้อนข้อมูลทุกวัน ป้อนข้อมูลให้ทันตามกำหนดเวลา มีการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ กำหนดเวลาในการประมวลผล การทำรายงาน การดำเนินการ ต่าง ๆ ต้องมีขั้นตอน หากขั้นตอนใดมีปัญหาระบบก็จะมีปัญหาด้วย เพราะทุกขั้นตอนมีผลต่อระบบสารสนเทศ 

เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ช่วยประมวลผล คัดเลือก คำนวณ หรือพิมพ์รายงาน ผลตามที่ต้องการ คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานได้รวดเร็ว มีความแม่นยำในการทำงาน และทำงานได้ต่อเนื่อง คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ จึงเป็นองค์ประกอบหนึ่งของระบบสารสนเทศ 
ซอฟต์แวร์ คือลำดับขั้นตอนคำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ทำงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ซอฟต์แวร์ จึงหมายถึงชุดคำสั่งที่เรียง เป็นลำดับขั้นตอนสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการ และประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ 
ข้อมูล เป็นวัตถุดิบที่ทำให้เกิดสารสนเทศ ข้อมูลที่เป็นวัตถุดิบจะต่างกัน ขึ้นกับสารสนเทศที่ต้องการ เช่น ในสถานศึกษามักจะต้องการ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนักเรียน ข้อมูลผลการเรียน ข้อมูลอาจารย์ ข้อมูลการใช้จ่ายต่าง ๆ ข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญประการหนึ่งที่มีบทบาทต่อการให้เกิด สารสนเทศ 

    3.  ระบบสารสนเทศ หมายถึง ระบบสารสนเทศ (Information system)  ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์  ซอฟท์แวร์  ระบบเครือข่าย  ฐานข้อมูล  ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ  พนักงานที่เกี่ยวข้อง และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา  ทุกองค์ประกอบนี้ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนด  รวบรวม จัดเก็บข้อมูล  ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน การตัดสินใจ  การวางแผน  การบริหาร การควบคุม  การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กร


    ประเภทของระบบสารสนเทศ
       ปัจจุบันจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร กับระบบสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศชัดเจนมากขึ้น  และเนื่องจากการบริหารงานในองค์กรมีหลายระดับ  กิจกรรมขององค์กรแต่ละประเภทอาจจะแตกต่างกัน  ดังนั้นระบบสารสนเทศของแต่ละองค์กรอาจแบ่งประเภทแตกต่างกันออกไป
      ถ้าพิจารณาจำแนกระบบสารสนเทศตามการสนับสนุนระดับการทำงานในองค์กร   จะแบ่งระบบสารสนเทศได้เป็น 4 ประเภท  ดังนี้


    • ระบบสารสนเทศสำหรับระดับผู้ปฏิบัติงาน (Operational – level systems)   ช่วยสนับสนุนการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในส่วนปฏิบัติงานพื้นฐานและงานทำรายการต่างๆขององค์กร เช่นใบเสร็จรับเงิน  รายการขาย  การควบคุมวัสดุของหน่วยงาน เป็นต้น  วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยการดำเนินงานประจำแต่ละวัน และควบคุมรายการข้อมูลที่เกิดขึ้น   
    • ระบบสารสนเทศสำหรับผู้ชำนาญการ (Knowledge-level systems)  ระบบนี้สนับสนุนผู้ทำงานที่มีความรู้เกี่ยวข้องกับข้อมูล   วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยให้มีการนำความรู้ใหม่มาใช้ และช่วยควบคุมการไหลเวียนของงานเอกสารขององค์กร


    • ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Management - level systems)  เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตรวจสอบ   การควบคุม การตัดสินใจ และการบริหารงานของผู้บริหารระดับกลางขององค์กร


    • ระบบสารสนเทศระดับกลยุทธ์ (Strategic-level system)   เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยการบริหารระดับสูง ช่วยในการสนับสนุนการวางแผนระยะยาว  หลักการของระบบคือต้องจัดความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมภายนอกกับความสามารถภายในที่องค์กรมี เช่นในอีก  5 ปีข้างหน้า องค์กรจะผลิตสินค้าใด



    4.   องค์ประกอบหลักของระบบสารสนเทศ ได้แก่
    ระบบการคิด หมายถึง กระบวนการขั้นตอนในการจัดลำดับ จำแนก แจกแจง และจัดหมวดหมู่
    ระบบเครื่องมือ หมายถึง วัสดุอุปกรณืหรทอเครื่องมือที่นำมาใช้ในการรวบรวม จัดเก็บ เผยแพร่สารสนเทศให้ดำเนินไปอย่างมีประสิธิภาพ

    5.  องค์ประกอบด้านต่งๆของระบบสารสนเทศ
        5.1 องค์ประกอบของสารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย ได้แก่ ข้อมูล สารสนเทศ ความรุ้ ปัญญา
        5.2 องค์ประกอบของสารสนเทศด้านขั้นตอน ได้แก่ ข้อมูลนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์
        5.3 องค์ประกอบของสารสนเทศในหน่วยงาน ได้แก่ บุคคลหรือองค์กร เทคโนโลยี ข้อมูล และระบบสารสนเทศ

    6.ขั้นตอนการจัดรับบสารสนเทศ
    ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ระบบ

    • วิธีวิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติ
    • วิเคราะห์หน้าที่
    • วิเคราะห์วิธีการและสื่อสาร
    ขั้นที่ 2 การสังเคราะห์ระบบ
    • การเลือวิธีการหริอกลวิธี เพื่อหาช่องทางไปสู่งจุดมุ่งหมาย
    • ดำเนินการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและกาสื่อสาร
    • ประเมินผลประสิทธิภาพการดำเนินงาน
    ขั้นที่ 3 การสร้างแบบจำลอง

    • แบบจำลองเป็นการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดออกมาเป็นภาพที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งอาจเป็นภาพลายเส้น หรือรูปสามมิติ


      7.  ระบบสารสนเทศระดับบุคคล  คือ ระบบข้อมูลที่เสริมประสิทธิภาพและเพิ่มผลงานให้บุคลากรในแต่ละคนในองค์การ ระบบสารสนเทศระดับบุคคลนี้มีแนวทางในการประยุกต์ที่ช่วยให้การทำงานในหน้าที่รับผิดชอบและส่วนตัวของผู้นั้นมี คุณภาพและประสิทธิภาพ ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีขนาดเล็กลง ราคาถูก แต่มีความสามาถในการประมาวผลด้วยความเร็วสูงขึ้น ประกอบกับมีโปรแกรมสำเร็จที่ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ง่าย กว้างขวางและและคุ้มค่ามากขึ้น โปรแกรมสำเร็จในปัจจุบันเริ่มมีความลงตัวและมีการรวบรวมไว้เป็นชุดโปรแกรม เช่น โปรแกรมประมวลคำ (word processing) ที่ช่วยในการพิมพ์เอกสาร โปรแกรมช่วยทำจดหมายเวียน (mail merge) โปรแกรมที่ใช้ในการจัดทำแผ่นใสเพื่อการบรรยายและทำภาพกราฟิค (presentation and graphics) โปรแกรมที่ช่วยในการทำวารสารและหนังสือ (desktop publishing) โปรแกรมตารางทำงาน (spreadsheet) โปรแกรมช่วยในการจัดเก็บและประมวลผลแฟ้มข้อมูล (database management) และโปรแกรมช่วยในการสร้าง
      ตารางการบริหารงาน (project management) เป็นต้น ชุดโปรแกรมที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน เป็นโปรแกรมที่ได้รวบรวม โปรแกรมสร้างเอกสาร โปรแกรมจัดทำแผ่นใสหรือข้อความประกอบคำบรรยายและแผ่นประกาศ โปรแกรมประมวลผลในรูปแบบตารางทำงาน โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล เป็นต้น  ข้อมูลที่ช่วยทำให้การทำงานของบุคลากรดีขึ้นนั้นต้องขึ้นอยู่กับหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละคนต่างกันไป ตัวอย่างเช่น พนักงานขายควรมีข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าเป็นอย่างดีซึ่งจะทำให้ติดต่อค้าขายได้ผลเลิศ บริษัทควรมีการเตรียมอุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์เอาไว้ให้พนักงานขายได้ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลลูกค้า เช่น ชื่อ ที่อยู่ และความสนใจในตัวสินค้า หรือข้อมูลอื่น ๆ ที่จะสนับสนุนการขาย พร้อมกับระบบที่จะช่วยพนักงานแต่ละคนในการเรียกค้นหาข้อมูลตามเงื่อนไขเพื่อวางแผน จัดการ และควบคุมการทำงานของตนเองได้ เช่น ระบบวิเคราะห์ข้อมูลการขาย เป็นต้น
      ระบบสารสนเทศระดับองค์กร คือ ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนงานขององค์กรในภาพรวมระบบในลักษณะ นี้จะเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานร่วมกันของหลายแผนกโดยการใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและส่งผ่านถึงกันจากแผนก หนึ่งข้ามไปอีกแผนกหนึ่งได้ระบบสารสนเทศดังกล่าวนี้จึงสามารถสนับสนุนงานการใช้ข้อมูลเพื่อการบริหาร งานในระดับผู้ปฏิบัติการและสนับสนุนงานการบริหารและจัดการในระดับที่สูงขึ้นได้ด้วยเนื่องจากสามารถ ให้ข้อมูลจากแผนกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาประกอบการตัดสินใจ โดยอาจนำข้อมูลมาแสดงในรูปแบบสรุปหรือใน แบบฟอร์มที่ต้องการได้บ่อยครั้งที่การบริหารงานในระดับสูงจำเป็นต้องใช้ข้อมูลร่วมกันจากหลายแผนกเพื่อ  ประกอบการตัดสินใจ ระบบการประสานงานเพื่อการสร้างรายได้ให้กับธุรกิจการค้า



      8.  ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงที่ปรากำให้เห้นเป็นประจักษ์สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าที่สามารถนับได้และนับไม่ได้ ความรู้ คือ สภาวะทางสติปัญญาของมนุษยืในการตีความสิ่งเร้าทั้งที่อยู่ภายในและถายนอกด้วยความเข้าใจสาระเนื้อหา กระบวนการ และขั้นตอน อาจอยู่ในรุปของข้อมูลดิบหรือสารสนเทศระดับต่างๆ หรืออาจอยู่ในรูปของอารมณ์ความรุ้สึกเหตุผล

      9.  การปะมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ
           9.1 ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล
      • การรวบรวมข้อมูล
      • การบำรุงรักษาและประมวลผลข้อมูล
      • การจัดการข้อมูล
      • การควบคุมข้อมมูล
         9.2 วิธีการเก็บข้อมูล
      • โดยวิธีการสังเกต 
      • โดยวิธีการสัมภาษณ์ 
      • โดยวิธีการส่งแบบสอบถาม 
      • โดยวิธีการทดสอบ 
      • โดยวิธีการใช้แบบสำรวจ 

      10.  ความแตกต่างของเครือข่ายสื่อสารข้อมูลที่มีขนาดพื้นที่และจำนวนเครื่งอที่ใช้
      • แลน เครือข่ายบริเวณเฉพาะที่ จำกัดเขตเฉพาะ
      • แวน เครือข่ายบริเวณกว้าง ระยยะทางมากกว่ากิโลเมตรขึ้นไป
      • อินเตอร์เน็ต เคร้ือข่ายขนาดใหญ่ ประกอบด้วยเครือข่ายแวนจำนวนมากซึ่งครอบคลุมพื้นที่กว้างไกลทั่วโลก